รอน ซิมมอนส์ นักมวยปล้ำผิวสีแชมป์โลก

รอน ซิมมอนส์ นักมวยปล้ำผิวสีแชมป์โลก “นักมวยปล้ำผิวดำไม่ต้องการบทบาทหรอก เพราะผิวสีดำนั่นแหละคือบทบาทของพวกเขา”คำกล่าวของโปรดิวเซอร์รายหนึ่งใน WWE สะท้อนความเหลื่อมล้ำและแบ่งแยกทางสีผิวในวงการมวยปล้ำได้เป็นอย่างดี

นักมวยปล้ำเชื้อสายแอฟริกัน-อเมริกัน มักได้รับบทบาทเป็นนักมวยปล้ำฝ่ายอธรรม หรือ นักมวยปล้ำตลก เพื่อเรียกเสียงหัวเราจากคนดู ทั้งที่นักมวยปล้ำเหล่านี้ เปี่ยมไปด้วยความสามารถ เกินกว่าที่ใครจะจินตนาการได้ท่ามกลางการถกเถียงถึงการเลือกปฏิบัติต่อนักมวยปล้ำผิวสี ชายคนหนึ่งได้จารึกหน้าประวัติศาสตร์ไว้หลายสิบปีก่อน พร้อมกับยืนยันให้โลกทั้งใบเห็นว่า นักมวยปล้ำผิวสีก็สามารถขึ้นไปยืนบนจุดสูงสุดของวงการได้เหมือนกัน

ชายคนนั้นคือ รอน ซิมมอนส์ แชมป์โลกมวยปล้ำผิวสีคนแรก ผู้สร้างแรงบันดาลใจแก่นักมวยปล้ำผิวสีรุ่นหลัง ให้มุ่งมั่นและไม่ยอมแพ้ต่อความไม่เป็นธรรมในวงการมวยปล้ำจนถึงทุกวันนี้

ตำนานอเมริกันฟุตบอลรอน ซิมมอนส์ ไม่ได้ชักพาตัวเองเข้าสู่วงการกีฬาในฐานะนักมวยปล้ำ เขาสร้างชื่อเสียงให้แก่ตัวเอง จากการเล่นอเมริกันฟุตบอลในระดับมหาวิทยาลัย โดยซิมมอนส์ เล่นตำแหน่งเชิงรับอย่าง ดีเฟนซีฟ แท็คเกิล (Defensive tackle) ให้แก่มหาวิทยาลัยรัฐฟลอริดา (Florida State University)ตลอดระยะเวลา 4 ปีในรั้วมหาวิทยาลัย (1977-1980) รอน ซิมมอนส์ ประสบความสำเร็จมากมายในสังเวียนคนชนคน เขาเริ่มต้นฤดูกาลแรกในฐานะเฟรชแมน ด้วยการคว้ารางวัลผู้เล่นแห่งเกม 4 ครั้ง และได้รับรางวัลดีเฟนซีฟ ไลน์แมน แห่งปี

ความแข็งแกร่งจากน้ำหนัก 235 ปอนด์ ผสานเข้ากับความรวดเร็วจากสรีระที่ว่ากันว่าเป็นพรสวรรค์จากพระเจ้าของชาวผิวสี รอน ซิมมอนส์ สร้างตำนานของเขาต่อไป ด้วยการติดทีมออล อเมริกัน (All-American) หรือทีมผู้เล่นแห่งปี ในปี 1979 และ 1980 รวมถึงติดทีมผู้เล่นยอดเยี่ยมของภาคใต้ถึง 3 ครั้ง
ผลงานที่กล่าวมาของ รอน ซิมมอนส์ ทำให้เบอร์เสื้อหมายเลข 50 ของเขา ถูกรีไทร์โดยมหาวิทยาลัยรัฐฟลอริดา ถือเป็นนักอเมริกันฟุตบอลคนที่สามในระดับมหาวิทยาลัย ที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่งนี้ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า รอน ซิมมอนส์ จะได้รับการคาดหวังมากแค่ไหน เมื่อก้าวสู่การแข่งขันอาชีพในศึก NFL

หากแต่เส้นทางของ รอน ซิมมอนส์ บนลีกกีฬาที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก กลับไม่เป็นไปอย่างที่ทุกคนหวัง หลังถูกดราฟต์โดย คลีฟแลนด์ บราวน์ส เขามีส่วนร่วมกับทีมแค่ช่วงก่อนเปิดฤดูกาล และไม่ได้โอกาสลงเล่นแม้แต่นัดเดียวในฤดูกาลจริงรอน ซิมมอนส์ ยังคงดิ้นรนบนเส้นทางนักอเมริกันฟุตบอลต่อไป แม้จะล้มเหลวในฤดูกาลรุกกี้ของตัวเอง เขาย้ายไปเล่นในลีกที่ต่ำกว่า NFL อย่าง แคนาเดียน ฟุตบอล ลีก (CFL) และ สหรัฐ ฟุตบอล ลีก (USFL) แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จกับทั้งสองทีมที่เขาเดินทางไปร่วมสังกัด

เส้นทางการเป็นนักกีฬาของ รอน ซิมมอนส์ คงจะจบลงเพียงเท่านี้ หลังการล่มสลายของ USFL ในปี 1986 หากเขาไม่พบเจอกับ เล็กซ์ ลูเกอร์ เพื่อนร่วมทีมแทมปา เบย์ บันดิทส์ ผู้หันหน้าเข้าสู่วงการมวยปล้ำในปี 1985 ซึ่งกลายเป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้ รอน ซิมมอนส์ ทิ้งหมวกเล็กและสนามหญ้า เพื่อก้าวมาทดสอบความสามารถบนสังเวียนมวยปล้ำในเวลาต่อมา

อุปสรรคจากสีผิว รอน ซิมมอนส์ เริ่มต้นอาชีพนักมวยปล้ำในปี 1987 กับสมาคมจิม คร็อกเกต โปรโมชัน หรือ WCW ในเวลาต่อมา เขาใช้เวลาไม่นานที่จะทำให้ผู้ชมประทับใจในความสามารถของเขา ด้วยพละกำลังและความเร็วที่ยังติดตัวซิมมอนส์ เหมือนวันเวลาที่เป็นนักอเมริกันฟุตบอล นักกีฬาผิวสีรายนี้จึงสร้างชื่อเสียงให้แก่ตัวเองได้อย่างรวดเร็ว

โชคร้ายของรอน ซิมมอนส์ ที่วงการมวยปล้ำไม่ใช่กีฬาร้อยเปอร์เซนต์ แต่เป็นกีฬาพื่อความบันเทิง หรือ Sport Entertainment ที่ต้องพึ่งรูปลักษณ์ของนักแสดง ซึ่งในที่นี้ก็คือ นักมวยปล้ำเป็นส่วนสำคัญ เรื่องดังกล่าวจึงกลายเป็นปัญหาใหญ่แก่ รอน ซิมมอนส์ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ประเด็นที่ละเอียดอ่อน แต่ต้องยอมรับว่าเป็นเหตุผลสำคัญมากที่สุด ที่ขัดขวางไม่ให้ รอน ซิมมอนส์ ก้าวไปถึงจุดสูงสุดของวงการ คือสีผิวของเขาเอง

เห็นได้ชัดจากประวัติศาสตร์ที่ยาวนานเกือบ 50 ปีของวงการมวยปล้ำอาชีพ มีการบันทึกไว้อย่างชัดเจนว่า ไม่มีนักมวยปล้ำผิวดำรายใด ก้าวขึ้นมาคว้าเข็มขัดแชมป์โลกแม้แต่รายเดียว ไม่ว่าจะเป็นสถาบันใดก็ตาม

ตัวอย่างที่เปรียบเทียบความเหลื่อมล้ำนี้ได้ชัดเจนที่สุด คงหนีไม่พ้น เล็กซ์ ลูเกอร์ อดีตเพื่อนร่วมทีมอเมริกันฟุตบอลของ อรน ซิมมอนส์ ที่นอกจากรูปร่างกำยำและผมสีบลอนด์เงางาม ราวกับหลุดมาจากตำนานกรีกโบราณ ฝีมือการปล้ำของเขาถือได้ว่าย่ำแย่ และถูกสาปส่งจากแฟนรุ่นหลัง ว่าเป็นนักมวยปล้ำที่ถูกผลักดันเกินจริงมากที่สุดคนหนึ่ง

แต่อย่างที่กล่าวว่า มวยปล้ำคือกีฬาที่บางครั้งภาพลักษณ์สำคัญกว่าฝีมือ ยิ่งย้อนเวลากลับไปช่วงยุค 1980s เรื่องดังกล่าวคือความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ เล็กซ์ ลูเกอร์ ถูกผลักดันให้เปิดศึกกับ เดอะ โฟร์ ฮอร์สแมน (The Four Horsemen) หนึ่งในกลุ่มมวยปล้ำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล ก่อนคว้าแชมป์โลกมาครองได้สำเร็จในปี 1991

ในช่วงเวลาเดียวกัน รอน ซิมมอนส์ ได้รับการแก้ไขปัญหาของเขา ด้วยสูตรสำเร็จของวงการมวยปล้ำ นั่นคือ เมื่อคุณมีนักมวยปล้ำฝีมือดีแต่รูปลักษณ์ไม่ได้ วิธีการที่จะผลักดันนักมวยปล้ำคนนั้น คือหานักมวยปล้ำฝีมือดีแต่รูปลักษณ์ไม่ได้มาอีกคน แล้วเอาพวกเขามาคู่กันเป็นมวยปล้ำแบบแท็กทีมขึ้นมา

รอน ซิมมอนส์ จึงกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของแท็กทีมที่ชื่อว่า ดูม (Doom) ในปี 1989 ด้วยเคมีที่เข้ากันและความสามารถอันทรงพลัง เขาและคู่แท็กทีมผิวสี บุตช์ รีด กลายเป็นแท็กทีมฝั่งอธรรมที่มาแรง และได้รับความนิยมจากแฟนมวยปล้ำ จนกลายเป็นแชมป์โลกแท็กทีม WCW ทีมแรกในประวัติศาสตร์

หลังจากนั้นไม่นาน WCW ตัดสินใจผลักดัน รอน ซิมมอนส์ ในฐานะนักมวยปล้ำเดี่ยว เขาแยกจากทีมดูม และพลิกเป็นฝ่ายธรรมะ ก่อนก้าวขึ้สู่จุดสูงสุดของอาชีพนักมวยปล้ำ ด้วยการท้าชิงแชมป์โลก WCW จาก เล็กซ์ ลูเกอร์ ในเดือนตุลาคม ปี 1991

การปะทะกันระหว่างอดีตเพื่อนร่วมทีมแทมปา เบย์ บันดิทส์ จบลงด้วยชัยชนะของ